การเปลี่ยนแปลงของวันเวลาที่สัมพันธ์กันกับสังคมครอบครัว
เมื่อก่อนคนมักติว่ามีลูกเป็นโขลงเลี้ยงพ่อแม่คนเดียวไม่ได้…เท็จจริงอย่างไร…ไม่แน่ใจ…คงแล้วแต่กรณี
สาเหตุหนึ่งคงเป็นเพราะเมื่อก่อน หนึ่งครอบครัวมีบุตรเป็น 10 คน ปัญหาที่เกิดจากการมีบุตรเยอะ ความไม่เท่าเทียม ความลำบาก ความขัดสนในเรื่องต่างๆ ทำให้พอโตขึ้นมา กลุ่มคนเหล่านั้นต่างแยกตัว แยกย้ายถิ่นฐานออกไป พอถึงวัยอันสมควรมีครอบครัว ต่างก็ต้องดูแลครอบครัวของตนไปตามวิถีทางของตนเอง
การมีครอบครัวของตนเองที่อยู่ไกลบ้านเกิด วันหยุดที่จำกัด และ ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ทำให้การไปมาหาสู่แต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายมากกว่าปรกติ จึงทำให้กระทบกับรายได้เพราะไม่สมดุลกับรายจ่ายที่จ่ายออกไป ประกอบกับความห่างไกลนี้ทำให้ความห่างเหินเกิดขึ้นตามมา การดูแล"ผู้สูงอายุในบ้านจึงไม่ได้รับการดูแลจากบุตรเท่าที่ควรจะเป็น ตามที่สังคมยุคนั้นคาดหวังว่า วันหนึ่งเมื่อถึงวัยชราจะได้อาศัยลูกหลานพึ่งพาพักพิง" จึงเกิดวลีที่ว่า “พ่อกับแม่เลี้ยงลูกเป็นสิบคนได้ แต่ลูกเป็นสิบเลี้ยงพ่อแม่สองคนไม่ได้” นั่นเอง
ซึ่งเมื่อเทียบกับชีวิตในปัจจุบัน ที่หนึ่งครอบครัว อาจมี บุตรเพียง 1-3 คน เท่านั้น แถมบางรายเลือกที่จะสมรสแต่กับยินดีในการใช้ชีวิตที่ไม่มีบุตร ด้วยเหตุผลหลากหลายเฉพาะบุคคล ดังนั้นความเป็นไปได้ที่จะยังคงพบปัญหาเช่นเดิม นั่นคือ "ผู้สูงอายุยังคงโดดเดี่ยวในวัยชราไม่ได้รับการดูแลที่ดีตามที่คาดหวัง" แตกต่างกันแค่เพียง ที่มาของปัญหา ด้วยเพราะหนึ่งครอบครัวมีบุตรหลานเพียง 1-3 คน แต่ผู้สูงอายุภายในบ้านมีมากขึ้น ดั่งเช่นที่เราได้ยินกันบ่อยๆ คือ "สังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย" กำลังเกิดขึ้น ประชากรกำลังเข้าสู่วัยชรา ในขณะที่ "คนรุ่นใหม่ไม่พร้อมที่จะรับมือดูแล"
ด้วยปริมาณคนที่มีมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน ค่าครองชีพแพงขึ้น เงินเฟ้อซื้อของได้ไม่เท่าเดิม แย่งกันกิน แย่งกันใช้ สังคมเปลี่ยนวัฒนธรรมที่เปลี่ยน รายจ่ายมากกว่ารายรับ ชักหน้าไม่ถึงหลัง ทำให้มีไม่มากพอที่จะจุนเจือครอบครัว อย่างสมบูรณ์
ซึ่งไม่ว่าอย่างไร "ปัญหาเหล่านี้ จะเกิดใกล้ตัวเรา มากขึ้นแน่นอน"
วันหนึ่ง ช่วงวัยของเรานั้นต้องผลัดเปลี่ยนจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง สถานะที่เปลี่ยนไป จากเด็กสู่ผู้ใหญ่ และล่วงเลยไปถึง "วัยชรา" และสิ่งสำคัญคือการดูแลชีวิตในช่วงสุดท้าย วัยที่อาจทำให้เราท้อใจกับร่างกายและสังขาร
ทั้งนี้ หากคนส่วนมากยังคงรายมีได้ที่ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ความหลายหลายในการดำรงชีพ ด้วยความชอบ ด้วยเหตุผลที่ต่างออกไป ทัศนคติ ความเชื่อ รวมถึงสิ่งแวดล้อม หากเกิดเหตุไม่คาดคิด มีเหตุการณ์หรือ ปัจจัยภายนอกเข้ามากระทบโดยไม่ตั้งใจ คนที่เตรียมตัวดีอาจจะประคองตน ผ่านช่วงเวลานั้นไปได้ แต่ถ้าคนที่โชคไม่ดีล่ะจะจัดการผ่านเรื่องราวนั้นไปได้ด้วยดีอย่างไร
การวางแผนเรื่องการเงินการป้องกันความเสี่ยงในแต่ละช่วงเวลา จึงไม่อาจละเลยได้ นั่นคือเรื่องจริง วันนี้อาจจะดูคล้ายว่าเผชิญชีวิตแต่ละวันไปด้วยความยากลำบาก แต่หากในความเหนื่อยนั้น พักแล้วหาย แรงยังไหว รายได้ยังมีเข้ามา นั่นคือ "นั่นคือความโชคดี"
ดังนั้น "การวางแผนเรื่องการเงินหรือคุ้มครองความเสี่ยง จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง" "เพราะในวันที่ แรงไม่มีหาเงินไม่ได้" วันนั้นจะเป็นความรับผิดชอบชีวิตของใคร หากไม่ใช่" “ตัวเราเอง”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น