วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2564

คุยประกันกับ OneNut ตอน "รอยโรค กลไกการเกิดโรค อาการแสดงของโรค จะรู้ได้อย่างไร"


เรามาทำความรู้จัก พระเอกของเราก่อนค่ะ นั่นคือ "พยาธิแพทย์ (Pathologist)" 





 พยาธิแพทย์ (Pathologist) มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นหมอที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับหนอนพยาธิ (อ่านว่า พะ-ยาด) แต่รู้หรือไม่ว่า คำว่า พยาธิ (อ่านว่า พะ-ยา-ทิ)  ซึ่งเขียนเหมือนกันแต่ แปลว่า โรค หรือความเจ็บไข้ 



ดังนั้นคำว่าพยาธิวิทยา จึงเป็น ศาสตร์ที่เกี่ยวกับโรค ซึ่งครอบคลุมถึงสาเหตุ กลไกการเกิดโรค การเปลี่ยนแปลงสภาพของเนื้อเยื่อบริเวณรอยโรค และอาการแสดงของโรค   พยาธิแพทย์ คือ แพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการตรวจและวินิจฉัยโรคจากอวัยวะเนื้อเยื่อ เซลล์ และสารคัดหลั่งจากร่างกายมนุษย์






 การวินิจฉัยโรคจึงเป็นงานหลักของพยาธิแพทย์ ไม่ใช่การรักษาผู้ป่วยโดยตรง



 การทำหน้าที่วินิจฉัยโรคของพยาธิแพทย์ ทำให้รูปแบบการทำงานคล้ายกับการเป็นทีม support แพทย์สาขาอื่น ๆ ที่เป็นเจ้าของไข้ โดยจะคอยให้ข้อมูล และวินิจฉัยว่า ความผิดปกติของเซลล์หรือเนื้อเยื่อนั้น ๆ เป็นรอยโรคชนิดใด และควรมีแนวทางการรักษาอย่างไร หรือจะพูดให้ชัด ๆ ได้ว่าลูกค้าของพยาธิแพทย์เป็นแพทย์ด้วยกันนั่นเอง



พยาธิแพทย์แบ่งหลัก ๆ ได้เป็น 2 สาขา คือ







  • พยาธิแพทย์คลินิก  คือ แพทย์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้แปลผลค่าในผลแล็บโดยทั่วไป เช่น ค่าน้ำตาลในเลือด ค่าสารบ่งชี้มะเร็ง นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน และคุณภาพในการบริการของห้องแล็บ พยาธิแพทย์สายงานนี้ จะไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะการวินิจฉัย เช่น การวินิจฉัยโรคด้วยการดูชิ้นเนื้อหรือดูเซลล์แบบพยาธิแพทย์สาขากายวิภาค



  • พยาธิแพทย์กายวิภา เป็นที่นิยมมากกว่าสาขาคลินิก มีบทบาทในการวินิจฉัยโรคจากเซลล์และเนื้อเยื่อ โดยดูการเปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติของเซลล์และเนื้อเยื่อ จากแผ่นสไลด์ที่ตัดออกมาจากชิ้นเนื้อ ผ่านทางกล้องจุลทรรศน์  ซึ่งงานของพยาธิวิทยากายวิภาคนี้แบ่งออกได้หลักๆเป็น 2 ประเภท คือ 


 1.ศัลยพยาธิวิทยา "บริการวินิจฉัยโดยการตรวจดูความผิดปกติของชิ้นเนื้อ"


ส่วนงานอีกประเภท คื 


2.เซลล์พยาธิวิทยา "บริการตรวจวินิจฉัยด้วยการดูการเปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติของเซลล์ จากสารคัดหลั่ง เช่น เสมหะ น้ำในช่องปอด หรือจากสิ่งที่ได้มาจากการเจาะหรือดูดเซลล์จากก้อนจากอวัยวะต่าง ๆ"



       ในการตรวจสอบเนื้อเยื่อของพยาธิกายวิภาคนั้น โดยปกติจะเป็นการบริการในรูปแบบการวินิจฉัยที่รอผลได้ โดยจะใช้เวลารอผลประมาณ 4-5 วัน   


แต่ในบางกรณีที่ต้องการทราบผลภายในเวลาอันรวดเร็ว ก็จะมีบริการตรวจวินิจฉัยอีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่า บริการตรวจเนื้อเยื่อแช่แข็ง (ขั้นตอนทางลัดในการแช่แข็งด้วยความเย็น โดยไม่ต้องผ่านกรรมวิธีแช่แข็งเนื้อด้วยสารพาราฟินตามปกติที่ต้องรอข้ามวัน) ซึ่งต้องการรู้ผลวินิจฉัยในทันที เพื่อนำไปรักษาคนไข้ 


ตัวอย่างเช่น กรณีที่ศัลยแพทย์กำลังผ่าตัดคนไข้แล้วต้องการทราบผลว่าชิ้นเนื้อชิ้นนั้นเป็นมะเร็งหรือไม่ เพื่อนำไปตัดสินใจเลือกการผ่าตัดรักษาที่เหมาะสมต่อไป 



ดังนั้น ราจึงเห็นว่าการทำงานของ "พยาธิแพทย์" มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในแปลผล อ่านค่า หรือการวินิจฉัยโรค ที่เกิดขึ้นกับอวัยวะเนื้อเยื่อ เซลล์ และสารคัดหลั่งจากร่างกายมนุษย์ จึงคาดว่าหากทราบผลการเปลี่ยนแปลงเร็ว โอกาสการรักษาก็มีมากขึ้น



ซึ่งหลายท่านที่รักการปกป้อง นอกจากการดูแลเรื่องอาหารให้ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ หรือ การออกกำลังกายเป็นประจำแล้ว จึงเลือก 👇



"การตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อตรวจสอบการทำงานของระบบภายในร่างกาย เพื่อเป็นการประเมินสมรรถภาพไปพร้อมกับการดูแลรักษาสุขภาพ ไปพร้อมกัน"






"เพราะการติดตามผลการตรวจสุขภาพ ค่าตัวเลขเหล่านี้ ล้วนสะท้อนพฤติกรรมและเป็นเหมือนการทำนายโอกาสเกิดโรคในเบื้องต้นได้"




รอยโรค  กลไกการเกิดโรค  อาการแสดงของโรค บางอย่างเกิดขึ้นจากพฤติกรรมที่สะสมเป็นเวลานาน ดังนั้น นอกจากการดูแลตนเองที่ดีแล้ว การสร้างความคุ้มครองถ่ายโอนความเสี่ยงก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีค่ะ 



ที่สำคัญคือ ทำตอนที่ร่างกายยังแข็งแรงสุขภาพดี ไม่มีโรคที่เกิดขึ้นก่อนทำประกัน ก็จะทำให้เราอุ่นใจได้มากขึ้นเมื่อได้รับความคุ้มครองพิจารณารับประกัน 



การเข้าถึงข้อมูลหลักเกณฑ์และเงื่อนไข จะทำให้การทำประกันเป็นเรื่องง่ายขึ้น 


"สร้างความคุ้มครอง อย่างเข้าใจ สร้างความมั่นใจ ในการปกป้องครอบครัว"


ด้วยความปรารถนาดี Onenutlifeplanner MTLP53


 "รายละเอียดการให้ความคุ้มครองระบุตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัย สำหรับการพิจารณาเป็นไปตามนโยบายของแต่ละบริษัท" 


อ้างอิง พยาธิแพทย์ (trueplookpanya.com)

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล (mahidol.ac.th)

ไขข้อข้องใจ... ค่าต่างๆ ในผลตรวจสุขภาพ บอกอะไรได้บ้าง (PART 1) | โรงพยาบาลเปาโล - Paolo Hospital

ไขข้อข้องใจ... ค่าต่างๆ ในผลตรวจสุขภาพ บอกอะไรได้บ้าง (PART 2) | โรงพยาบาลเปาโล - Paolo Hospital

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

คุยประกันกับ OneNut ตอน "รอยโรค กลไกการเกิดโรค อาการแสดงของโรค จะรู้ได้อย่างไร"

เรามาทำความรู้จัก พระเอกของเราก่อนค่ะ นั่นคือ   " พยาธิแพทย์  (Pathologist)"    พยาธิแพทย์  (Pathologist)  มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นห...