วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2564

คุยประกันกับ OneNut ตอน ประกันมีไว้คุ้มครองแต่ทำไมต้องรีบทำตอนสุขภาพดี?




              ประกันมีไว้คุ้มครอง แต่ทำไมต้องรีบทำตอนสุขภาพดี..?



เคยสงสัยกันใช่มั้ยคะ ในเมื่อประกันชีวิต หรือ ประกันสุขภาพถูกออกแบบมาเพื่อคุ้มครองชีวิตและสุขภาพ แล้วทำไม ถึงต้องรีบทำ ในเวลาที่ร่างกายแข็งแรงปรกติดี





อายุมากกว่านี้..ค่อยทำก็ได้


ทำไมต้องรีบทำ..?


การสร้างความคุ้มครองประกันชีวิต พร้อมแนบสัญญาเพิ่มเติมความคุ้มครองนั้น เป็นการสร้างการปกป้อง ก่อนเกิดภัย หากเผชิญสิ่งที่กังวลขึ้นเมื่อใด ประกันและความคุ้มครองที่เราสร้างไว้ จะเข้าปกป้องดูแล



ดังนั้น  เราจึงจำเป็นต้องสร้างขึ้นในเวลาที่แข็งแรงสุขภาพดี ร่างกายสมบูรณ์ตามเกณฑ์  เพราะหลักเกณฑ์การพิจารณารับประกันภัย เป็นไปตามนโยบายของบริษัทเพื่อดูแลคุ้มครองปกป้องเราและครอบครัวตามที่ระบุไว้ในสัญญากรมธรรม์






1. การทำประกันสุขภาพ ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งข้อมูลเรื่องสุขภาพตามความเป็นจริงโดยไม่ปิดบัง หากทางบริษัทตรวจพบความจริงในภายหลัง บริษัทสามารถปฏิเสธความคุ้มครองต่างๆ ได้



2.เงื่อนไขระยะเวลาการรอคอย (Waiting Period) หรือระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง หมายถึง ช่วงระยะเวลาที่ผู้เอาประกันภัยเข้ารับการรักษาพยาบาล แต่ไม่สามารถเรียกร้องค่าสินไหมได้ เพราะอาจมีอาการเจ็บป่วยมาก่อนทำประกัน การประกันสุขภาพจึงได้กำหนดเงื่อนไขระยะเวลารอคอยขึ้น เพื่อป้องกันการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากสภาพที่เป็นมาก่อนการเอาประกันภัย การกำหนดระยะเวลารอคอยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกันภัย อาจจะมีระยะเวลารอคอยประมาณ 30-120 วัน



3. การประกันสุขภาพจะไม่คุ้มครองโรคหรือการเจ็บป่วยบางอย่าง เช่น

  • - การเป็นโรคทางพันธุกรรม
  • - โรคที่เกี่ยวกับผิวพรรณ เช่น สิว ฝ้า รังแค ผมร่วง
  • - โรคตาที่เกิดจากการใช้คอนแทคเลนส์
  • - การรักษาหรือการบำบัดกรณีติดยาเสพติด บุหรี่ และเหล้า
  • - การรักษาโดยไม่ใช้แพทย์แผนปัจจุบันหรือเป็นแพทย์ทางเลือก
  • - โรคที่เคยเป็นต่อเนื่องมาก่อนการทำประกันภัย




 4.การประกันสุขภาพโดยทั่วไป จะไม่คุ้มครองการเข้าพักรักษาตัวซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นจากการบาดเจ็บหรือป่วยไข้ เช่น การทำหมัน การทำศัลยกรรม การลดความอ้วน การพักผ่อน รวมทั้งการรักษาโรคประสาท กามโรค การติด และการตรวจสายตา เช่นกัน




 5.การบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย กำหนดสิทธิให้ผู้เอาประกันภัยบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยได้ แต่บริษัทประกันภัยจะใช้สิทธิในการบอกเลิกได้เฉพาะกรณีที่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าผู้เอาประกันภัยทุจริตเท่านั้น







1.อายุ

ค่าเบี้ยประกันขึ้นอยู่กับอายุของผู้ทำประกัน ซึ่งช่วงอายุที่ค่าเบี้ยประกันถูกสุด ได้แก่ อายุ ที่อยู่ระหว่าง 20-40 ปี หรือคนวัยทำงาน เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่ร่างกายแข็งแรงมากที่สุด ส่วนช่วงอายุที่ค่าเบี้ยประกันค่อนข้างสูงได้แก่ ช่วงวัยเด็กแรกเกิดจนถึง 6 ปี และช่วงวัยสูงอายุ 50-60 ปี


2.เพศ

อัตราเบี้ยประกันภัยเพศหญิงจะสูงกว่าเพศชาย เนื่องจากความแข็งแรงของสุขภาพร่างกายที่แตกต่างกัน โดยเพศหญิงจะใช้เวลาในการฟื้นตัวจากการเจ็บป่วย หรือการบาดเจ็บทางร่ายกายนานกว่าเพศชาย


3.สุขภาพ

 

ประวัติเกี่ยวกับสุขภาพและการรักษาพยาบาล รวมทั้งสภาพร่ายกายของผู้ขอเอาประกันภัยเป็นปัจจัยหนึ่งในการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย ทั้งนี้บุคคลที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ไม่เคยมีประวัติการเจ็บป่วยรุนแรง เบี้ยประกันภัยย่อมถูกกว่าบุคคลที่มีสภาพร่างกายอ่อนแอหรือเคยมีประวัติการเจ็บป่วยร้ายแรง เนื่องจากบุคคลที่มีสุขภาพแข็งแรงย่อมมีความเสี่ยงน้อยกว่าในการที่จะได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยร้ายแรงในอนาคต


4.อาชีพ

 

อาชีพเป็นปัจจัยหนึ่งที่บ่งบอกถึงกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด อาชีพที่มีความเสี่ยงภัยหรือมีแนวโน้มที่จะได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยสูง เช่น อาชีพวิศวกรคุมงานก่อสร้าง หรือช่างทำงานในโรงงาน เบี้ยประกันภัยย่อมสูงกว่าอาชีพพนักงานบริษัททั่วไปที่ไม่มีความเสี่ยง


5.การดำเนินชีวิต

 

การใช้ชีวิตหรือ Life Style ของแต่ละบุคคล แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมซึ่งจะมีผลต่อสุขภาพ หรืออุบัติเหตุของบุคคลที่แตกต่างกันไป เช่น คนที่กินเหล้า สูบบุหรี่ หรือเล่นกีฬาที่เสี่ยงอันตราย ย่อมมีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป ดังนั้นอัตราเบี้ยประกันจึงสูงกว่า เป็นต้น


6.สำหรับการประกันภัยหมู่

 

อัตราเบี้ยประกันภัยพิจารณาจากจำนวนบุคคลที่จะเอาประกันภัย ถ้าจำนวนบุคคลมาก การกระจายความเสี่ยงย่อมมีมากกว่า ซึ่งจะทำให้อัตราเบี้ยประกันภัยต่ำลงได้



การเข้าถึงข้อมูลหลักเกณฑ์และเงื่อนไข จะทำให้การทำประกันเป็นเรื่องง่ายขึ้น 


"สร้างความคุ้มครอง อย่างเข้าใจ สร้างความมั่นใจ ในการปกป้องครอบครัว"


ด้วยความปรารถนาดี Onenutlifeplanner MTLP53


 "รายละเอียดการให้ความคุ้มครองระบุตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัย สำหรับการพิจารณาเป็นไปตามนโยบายของแต่ละบริษัท" 



อ้างอิง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | การประกันสุขภาพ (oic.or.th)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

คุยประกันกับ OneNut ตอน "รอยโรค กลไกการเกิดโรค อาการแสดงของโรค จะรู้ได้อย่างไร"

เรามาทำความรู้จัก พระเอกของเราก่อนค่ะ นั่นคือ   " พยาธิแพทย์  (Pathologist)"    พยาธิแพทย์  (Pathologist)  มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นห...